Home / Essential Oils / Winter Green Essential Oil

Winter Green Essential Oil

  • ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Gaultheria Procumbens
  • วิธีการสกัด : สกัดด้วยไอน้ำ ( Steam Distillation)
  • ประเทศต้นกำเนิด : China
  • คำเตือน : น้ำมันชนิดนี้มีผลลดการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่กำลังรับประทานยาแอสไพริส (Aspirin) หรือ ยาที่ลดการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ รวมไปถึงเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตรควรงดใช้
shopee
lazada

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำมันหอมระเหย Winter Green นั้นจะช่วยกระตุ้นให้ความรู้สึกที่สดชื่น ตื่นตัว แม้ว่าน้ำมันนี้ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลมินต์ แต่ก็ให้ความรู้สึกถึงความสดชื่นได้ ช่วยปรับให้อากาศนั้นมีความสดชื่น เมื่อนำมาใช้ทาลงบนผิวหนัง สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และ ข้อต่อ จากการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักเช่น การออกกำลังกาย อาการเคล็ดขัดยอกต่างๆ

วิธีการใช้

ใช้สูดดม : หยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ต่อน้ำสะอาด 100 ml ลงในเครื่องกระจายกลิ่น

ใช้ภายนอก : กรุณาเจือจางในน้ำมันเบสก่อนใช้งานบนผิวหนัง

🌸บรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ

🌸สร้างความสดชื่น ให้ความรู้สึกโล่ง โปร่ง สบาย

🌸ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ

น้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีน (Winter Green Essential Oil)

น้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนสกัดมาจากส่วนใบของต้นวินเทอร์กรีน โดยการการสกัดจะนำใบไม้มาบ่มก่อนให้ได้ที่เพื่อให้ได้น้ำมันที่เข้มข้นและมีคุณภาพ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนสกัดผ่านกระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation) โดยเราจะได้สารที่ชื่อว่า Methyl Salicylate (Natural) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของน้ำมันวินเทอร์กรีน

โดยในปัจจุบันก็ได้มีการสังเคราะห์ Methyl Salicylate มาใช้ในอุตสหกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เราเข้าใจผิดได้ระหว่างสารที่ได้มาจากธรรมชาติ กับ สารสังเคราะห์ เพราะบางครั้งผู้ขายก็จะเรียก Methyl Salicylate สังเคราะห์ว่า วินเทอร์กรีนออย น้ำมันระกำ ซึ่งยากต่อการแยกแยะว่าน้ำมันนั้นมาจากธรรมชาติจริงหรือไม่ ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบแหล่งที่มา วิธีการสกัด และ สายพันธุ์พืชให้ชัดเจนเพื่อเราจะได้แน่ใจว่า น้ำมันหอมระเหยที่ซื้อมานั้นเป็นของแท้แน่นอน

dustmite-cleanser

คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีน

  1. บรรเทาอาการปวดและอักเสบ

    สารประกอบหลักของน้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนคือ Methyl Salicylate ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับยากลุ่ม แอสไพริน (Aspirin) ซึ่งมีคุณสมบัติระงับอาการปวด และ ลดการอักเสบ ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนจึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน และ ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

  2. ใช้แต่งกลิ่น

    ในอุตสหกรรมต่างๆนั้นนิยมใช้วินเทอร์กรีนเป็นส่วนผสมลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อแต่งกลิ่น เช่น เทียน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก

  3. กำจัดแมลง

    น้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนนั้นมักเป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง และ ไล่แมลง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ามีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง และ ไล่แมลงดีกว่าน้ำมันหอมระเหยชนิตอื่นๆ แต่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์

น้ำมันหอมระเหยเกือบทุกชนิตนั้นสามารถไล่แมลงได้ค่ะ เนื่องจากเวลาที่น้ำมันหอมระเหยนั้นระเหยในอากาศ ตัวน้ำมันหอมระเหยจะไปจับกับออกซิเจน ทำให้แมลงที่ตัวเล็กมากๆนั้น รู้สึกได้ว่าออกซิเจนลดลง จึงทำให้แมลงนั้นรีบหนีไป ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติค่ะ แต่ถ้าเป็นพวกยุง ควรไปใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีสารหอมจำพวก D-limonene จะได้ผลมากกว่าค่ะ ซึ่งจะเป็นน้ำมันในกลุ่ม Citrus เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด

นอกจากนี้ในการบำบัดรักษาแบบพื้นบ้านเรายังสามารถนำน้ำมันวินเทอร์กรีนมาใช้เพื่อบำบัดอาการต่อไปนี้

  1. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial infections)
  2. แก้หวัด (Cold)
  3. ลดอาการปวดหัว (Headache)
  4. ลดอาการปวดบิด (Colic)
  5. ลดอาการเจ็บคอ (Sore Throat)
  6. ลดอาการฟันฟุ (Tooth Decay)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • จากงานวิจัยปี 2010 เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อในผู้ใหญ่ พบว่าการใช้สาร Methyl Salicylate และ Menthol นั้นสามารถแก้อาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ ในการทดลองนี้ผู้ทดลองจะมี 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ไดรับสาร Methyl Salicylate และ Menthol จริงจากแผ่นแปะหลัง กับ อีกกลุ่มที่ได้เป็นแผ่นแปะหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับแผ่นแปะที่มีสารอยู่เห็นผลการรักษาได้ชัดเจน
  • นอกจากนี้การศึกษาในปี 2012 ก็ได้พบว่า Methyl Salicylate นั้นสามารถบรรเทาอาการปวดหัวรุนแรงได้หลังจากการรักษาด้วยไฟฟ้าช็อต
  • ในปี 2017 พบว่าการเจือจางน้ำมันวินเทอร์กรีนเพียง 0.5% ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่ายาปฎิชิวนะ โดยเชื้อที่นำมาทดลองคือ Borrelia burgdorfer ซึ่งมีพาหะมาจากเห็บ อย่างไรก็ตามการลดสัดส่วนความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีนลงประสิทธิภาพก็จะลดลงตามไปด้วย
  • ในปี 2013 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในอเมริกาได้ตรวจสอบ Methyl Salicylate ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมแล้วพบว่า น้ำมันวินเทอร์กรีนนั้นสามารถลดแบคทีเรียในช่องปาก และ ลดโรคเหงือกอักเสบได้ดี ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำมาตรวจสอบได้แก่ น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์กำจัดกลิ่นปาก โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ข้อสรุปว่า Methyl Salicylate นั้นไม่ว่าจะนำมาใช้เดี่ยวๆ หรือ ใช้ร่วมกับ Menthol หรือ Thymol ก็ปลอดภัย และ มีประสิทธิภาพ

ข้อควรระวัง

The International Federation of Aromatherapists นั้นไม่สนับสนุนการบริโภคน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดรักษาเว้นแต่จะกระทำภายใต้การดูแลโดยตรงของแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านอโรมาเธอราพี และข้อความเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์นี้จึงไม่ได้มีไว้สำหรับการวินิจฉัย การรักษา การบำบัด หรือการป้องกันโรคใดๆ

❌ เด็ก และ สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้

❌ หากกำลังให้นมบุตรไม่ควรใช้

❌ ผู้ที่ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ ยาละลายลิ่มเลือด

❌ ผู้ที่มีเลือดออกง่าย เช่น Hemophilia

❌ ผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน

❌ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเกินกำหนดเพราะอาจจะก่ออาการแพ้ได้

**หากมีอาการคลื่นใส้อาเจียน หายใจเร็ว เหงื่อออก หูอื้อ กล้ามเนื้อกระตุก หรือ มีอาการชัก ควรหยุดการใช้ และ รีบพบแพทย์ทันที

ช่องทางการสั่งซื้อสินค้า

น้ำมันระกำ

สั่งซื้อสินค้าได้ที่

Shopee & Lazada

shopee
lazada

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิตถึงราคาไม่เท่ากัน

น้ำมันหอมระเหยแท้ แต่ละชนิตนั้นมีราคาไม่เท่ากันมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. วัตถุดิบมาจากธรรมชาติ : เนื่องจากราคาพืชแต่ละชนิตไม่เท่ากันค่ะ บางอย่างสกัดมาจากดอกไม้ บางอย่างมาจากเปลือก แน่นอนว่าแต่ละส่วนของพืชก็ราคาไม่เท่ากัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ค่ะ
  2. ปริมาณของน้ำมันหอมระเหยในพืชแต่ละชนิตไม่เท่ากัน : เช่น กานพูลมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยประมาณ 1% ของน้ำหนักก็จะได้ปริมาณน้ำมันที่สกัดมากกว่า พืชอื่นๆเช่น ดอกกุหลาบ ซึ่งให้น้ำมันที่ 0.02% นั่นหมายความว่า ดอกกุหลาบ 1 กิโลกรัม จะได้น้ำมันหอมระเหยเพียง 20 กรัม เท่านั้นเอง ดังนั้นกุหลาบจึงมีราคาแพงมากนั่นเอง
  3. ความยากง่ายของการเพาะปลูก : พืชแต่ละชนิตมีความยากง่ายในการเพาะปลูกไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาของวัตถุดิบจึงแตกต่างกันค่ะ รวมไปถึงบางฤดูกาล บางปี ที่ไม่สามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างเพียงพอ ก็อาจจะทำให้ราคาพืชในตลาดโลกนั่นขึ้นลงได้

ดังนั้นถ้าคุณไปเห็นคนที่ขายน้ำมันหอมระเหยทุกกลิ่นราคาเท่ากันหมด หรือ พืชแต่ปลูกยากๆ และสกัดได้น้ำมันน้อย อย่างกุหลาบ แต่ขายในราคาไม่กี่ร้อยบาท (ซึ่งกุหลาบนั่นตลาดโลกขายกันที่ ลิตรละ 7-9 แสนบาทค่ะ) ฟันธงได้เลยว่า มันคือ น้ำหอมเลียนแบบกลิ่นธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่น้ำมันของระเหยแท้ค่ะ ซึ่งคุณสามารถศึกษาต่อในหัวข้อ น้ำมันหอมระเหย คืออะไร ?  เพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างข้องแท้ และ ของสังเคราะห์ค่ะ 😊

สินค้าประเภท น้ำมันหอมระเหย รวมไปถึง น้ำมันเบส (Carrier Oils) ทุกแบรนด์ในประเทศไทย ไม่สามารถจด อย หรือ เลขจดแจ้งได้ค่ะ เนื่องจากเป็นสินค้าประเภท วัตถุดิบ (Raw Material) แต่เราจะมีใบรับรองการตรวจสอบวัตถุดิบ หรือที่เรียกว่า ใบ COA (Certificate of Analysis) ซึ่งปกติโรงงานผู้ผลิตที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าจะต้องนำใบนี้ไปยื่นกับทาง อย เพื่อขอเลขจดแจ้งอีกทีในกรณีที่นำวัตถุดิบไปแปรรูปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ใช้กับร่างกาย เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้น

แล้วในเมื่อเป็นวัตถุดิบ สามารถนำมาใช้กับร่างกายได้โดยตรงเลยหรอ ? คำตอบคือได้ค่ะ เพราะวัตถุดิบบางอย่างนั้น สามารถใช้ได้โดยตรงกับร่างกายเลยค่ะ บางครั้งดีกว่าการเอาไปแปรรูปผ่านความร้อนให้เสียคุณค่าซะอีก

การทำงานของน้ำมันหอมระเหยนั้น จะทำงานโดยการเป็นสารตั้งต้น (Pre-cursor) ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เราไม่สมดุลย์ หรือ มีความผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคและอาการต่างๆ ให้กลับมาทำงานเป็นปกติ ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติค่ะ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้  3 ช่องทาง ได้แก่

  1. การกิน : จะได้ปริมาณโดสที่สูง ซึ่งในพืชบางชนิตการรับประทานเพียง 1 หยดนั่นก็มากเกินความต้องการต่อวันของร่างกายแล้ว ดังนั้นจึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง
  2. การดม : หลายคนคิดว่าการดมนั้นมีโดสที่ต่ำ จนไม่สามารถส่งผลอะไรกับร่างกาย ถ้างั้นคุณลองคิดดูว่าทำไมวิธีการฆ่าคนที่ไวที่สุดในประวัติศาสตร์ คือการรมยมพิษล่ะ ?
  3. การทา : การทานั้นสามารถซึมเข้าสู่่กระแสเลือดและเซลล์ได้ เพราะ เยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์นั้นเป็น Lipid หรือ น้ำมันค่ะ ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยนั้นสามารถเข้าสู่เซลล์ได้อย่างรวดเร็วค่ะ